เมนู

สำนักอาฬารดาบส กาลามโคตร และขอเรียนทางปฏิบัตินั้น จัดเป็นอาจารย์คำรบสี่ ปุน จ ปรํ
อีกอาจารย์หนึ่ง คืออุทกดาบส รามบุตร ซึ่งพระโพธิสัตว์เข้าไปถามถึงวัตรปฏิบัตินั้น จัดเป็น
อาจารย์คำรบห้า มหาราช ขอถวายพระพร อาจารย์ทั้ง 5 นี้เป็นอาจารย์สมเด็จพระมหา
กรุณาเจ้า บอกโลกียธรรมให้แต่ยังไม่ได้ตรัส จัดเป็นอาจารย์บอกโลกียธรรมต่างหาก จะได้เป็น
อาจารย์สมเด็จพระพุทธองค์ผู้ทรงสวัสดิภาคเมื่อได้ตรัสนี้หามิได้ ประการหนึ่ง จะได้เป็น
อาจารย์สอนฝ่ายโลกุตรธรรมนี้แก่สมเด็จพระชินสีห์หามิได้ เหตุฉะนี้ สมเด็จพระบรมไตรโลก-
นาถจึงมีพระพุทธฎีกาประภาษว่า ตถาคตจะมีครูบาอาจารย์สั่งสอนหามิได้ บุคคลผู้ใดจะ
เปรียบเสมอสมานปูนปานกับพระองค์เจ้าหามิได้ ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชานรากร ทรงพระสวนาการฟังก็สโมสรโสมนัส มีพระราช-
โองการตรัสว่า สาธุ ข้าแต่พระนาคเสน ผู้ประกอบด้วยญาณอันปรีชา สมฺปฏิจฺฉามิ โยมจะ
รับไว้เป็นข้อวัตรปฏิบัติสืบไป แก่กุลบุตรอันจะเกิดมาเมื่อภายหลัง ในกาลบัดนี้
พุทธัสส อาจริยานาจริยปัญหา คำรบ 9 จบเพียงนี้

อัคคาอัคคสมณปัญหา ที่ 10


ภนฺเต นาคเสน ภาสิตํ เจตํ ภควตา อาสวานํ ขยาย สมโณ โหตีติ
ราชา

สมเด็จบรมกษัตริย์ขัตตินรินทร์มิลินท์ภูมินทราธิบดี มีสุนทรพจนารถพระ
ราชโองการตรัสถามอรรถปัญหาบทอื่นว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เป็นเจ้า
ประกอบด้วยญาณปรีชา ภาสิตํ เจตํ ภควตา พระพุทธฎีกานี้สมเด็จพระองค์ผู้ทรงบุญราศี
สวัสดิภาคหากตรัสโปรดไว้ว่า พระอริยบุคคลที่เป็นอาสวักขัยนั้นแหละเป็นสมณะ ปุน จ ปรํ
ครั้นมาใหม่เล่า สมเด็จพระสัพพัญญูเจ้า มีพระพุทธฎีกาตรัสว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายเรียก
นรชาติฝูงคนอันเป็นสมังคี มีความพร้อมเพรียงด้วยธรรม 4 ประการว่าเป็นสมณะ และ
คุณธรรม 4 ประการนี้ คือ ขนฺตี ความอดทนประการ 1 อปฺปาหารตา บริโภคอาหาร
แต่น้อยประการ1 รติวิปฺปหานํ คือประหารเสียซึ่งกำหนัดประการ 1 อกิญฺจนํ หา
กังวลมิได้ประการ 1 สิริเป็นคุณธรรม 4 และธรรมทั้ง 4 นี้ มีอยู่ในสันดานบุคคลเป็น
ปุถุชนประกอบด้วยกิเลส นี่แหละคำพระองค์ตรัสไว้ว่า บุคคลที่เป็นอาสวักขันแล้วเรียกว่า
เป็นสมณะมั่นคงแล้ว คำที่ว่าสมเด็จพระพุทธองค์ว่า นรชาติชนพร้อมด้วยธรรมทั้ง 4

นี้เป็นสมณะ พระพุทธฎีกานี้ผิด ถ้าว่าถือกระแสพระพุทธฎีกาทีหลังนี้ที่ว่า นรชาติที่เป็นสมังคี
พร้อมเพรียงด้วยธรรมทั้ง 4 นี้เป็นสมณะ พระพุทธฎีกาตรัสไว้เมื่อเดิมว่า บุคคลเป็นอาส-
วักขัยสิ้นกิเลสอาสวะนั้น และจัดว่าเป็นสมณะนั้นก็ผิด นี่แหละมีอาสวะก็เรียกว่าเป็นสมณะ
ไม่มีอาสวะก็เรียกว่าเป็นสมณะ กระนี้หรือประการใด ไม่รู้ที่ว่าจะถือเอาพระพุทธฎีกาไหน
เป็นแน่ได้ เมื่อพิเคราะห์ไปเห็นว่า พระพุทธฎีกาดูประหนึ่งเป็นคำสองไม่ต้องกัน อยํ ปญฺโห
อันว่าปัญหานี้ อุภโต โกฏิโก เป็นอุภโตโกฏิ นิมนต์พระผู้เป็นเจ้าโปรดวิสัชนาให้แจ้งในกาลบัดนี้
พระนาคเสนผู้ประกอบด้วยญาณปฏิสัมภิทา มีเถรภาษิตถวายพระพรว่า มหาราช
ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร ข้อที่ว่าสมเด็จพระศรีสุคตทศพลภควันตบพิตรพิชิตมารมุนี มี
พระพุทธฎีกาโปรดไว้ว่า อาสวานํ ขยาย สมโณ บุคคลเป็นอาสวักขัยหากิเลสมิได้นั้นแหละ
ชื่อว่าสมณะ และข้อที่ตรัสว่าบุคคลประกอบพร้อมเพรียงไปด้วยธรรม 4 ประการนั้น เรียกว่า
เป็นสมณะ มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ คำที่ว่าบุคคลพร้อม
เพรียงด้วยธรรม 4 ประการ เรียกว่าเป็นสมณะนี้ สมเด็จพระพิชิตมารโมลีเจ้าตรัสด้วย
อำนาจคุณอันพิเศษ 4 อย่างของบุคคลเหล่านั้น และเป็นนิราวเสสวจนะหมายเอาสมณะทั่วไป
สุดแต่ว่ามีธรรม 4 ปรการนี้แล้วก็เป็นสมณะได้ แต่เมื่อจะเปรียบเทียบกันแล้วไซร้ก็เลิศกว่ากัน
บุคคลผู้ใดปฏิบัติเพื่อจะระงับกิเลสแล บุคคลผู้นั้นชื่อว่าเป็นสมณะ แต่พระขีณาสวะทั้งหลาย
ประเสริฐกว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร เปรียบปานดุจดอกไม้ทั้ง
หลายอันเกิดในน้ำบนบกนั้นก็ดี ที่สุดชาติดอกสัตตบุษย์ประเสริฐกว่าดอกไม้ทั้งปวง ยา กาจิ
ปุปฺผา
อันว่าดอกไม้ทั้งหลายเหลือเศษ คือจากดอกสัตตบุษย์ก็เรียกว่าดอกไม้ ดอกไม้ทั้ง
หลายก็เรียกว่าดอกไม้ เป็นที่ชอบใจคนเหมือนกันแล แต่ทว่าดอกสัตตบุษย์ประเสริฐกว่า ยถา
มีครุวนาฉันใด นะบพิตรพระราชสมภาร บุคคลยังไม่สิ้นกิเลส ปฏิบัติเพียงดับกิเลสก็ว่าสมณะ
ที่ท่านเป็นขีณาสพก็เรียกว่าเป็นสมณะ เป็นที่ทายกจะสักการบูชา แต่ทว่าพระขีณาสพสมณะ
เป็นผู้ล้ำเลิศประเสริฐกว่าปุถุชนสมณะ เปรียบดุจเรียกว่าดอกไม้เป็นที่ชอบใจแห่งโลก
แต่ทว่าดอกไม้สัตตบุษย์ประเสริฐกว่านั้น นี่แหละคำที่ว่า บุคคลประกอบพร้อมเพรียงด้วยธรรม
4 ประการนี้เป็นคำวิเศษว่าทั่วไปแก่ปุถุชนอันปฏิบัติเพื่อจะดังกิเลส จัดว่าเป็นสมณะ ไม่
เป็นคำหมายสมณะชั้นสูงอย่างเด็ดขาด แต่คำที่ว่าบุคคลเป็นอาสวักขัยสิ้นไปจากกิเลสทั้งปวงนี้
เป็นคำอันวิเศษเด็ดขาดเป็นที่สุด ไม่มีผู้ใดจะประเสริฐอีกแล้ว มหาราช ขอถวายพระพรบพิตร
พระราชสมภาร เปรียบดุจข้าวสาลี โลกกล่าวว่าดีว่าเลิศก็เรียกว่าข้าวสาลี ธัญชาติข้าวทั้งปวง
มีพันธุ์ต่าง ๆ ที่เลี้ยงกายคนทั้งหลายเหมือนกัน แต่ทว่าข้าวสาลีดีกว่าประเสริฐกว่า
มีรสกว่าข้าวทั้งหลายมีประการต่าง ๆ ยถา มีครุวนาฉันใด มหาราช ขอถวายพระพรบพิตร
พระราชสมภาร บุคคลที่ประกอบการปฏิบัติเพื่อจะดับกิเลส ก็เรียกว่าเป็นสมณะ ที่ท่านเป็น

อาสวักขัยก็เรียกว่าเป็นสมณะ ทายกทำบุญได้บุญเหมือนกัน แต่ทว่าทานที่ให้แก่พระขีณาสพ
เจ้ามีผลล้ำเลิศ ประเสริฐกว่า ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต สาธุสะข้าแต่
พระผู้เป็นเจ้า สมฺปฏิจฺฉามิ โยมรับถ้อยคำของพระผู้เป็นเจ้า จำไว้เป็นข้อวัตรปฏิบัติของกุลบุตร
อันจะเกิดมาข้างอนาคตกาลเบื้องหน้าในกาลบัดนี้
อัคคาอัคคสมณปัญหา คำรบ 10 จบเท่านี้
จบตติยวรรค

จตุตถวรรค


วัณณภณนปัญหา ที่ 1


ภนฺเต นาคเสน ภาสิตํปิ เจตํ ภควตา มมํ วา ภิกฺขเว ปเร วณฺณํ ภาเสยฺยุํ ธมฺมสฺส
วา สงฺฆสฺส วา วณฺณํ ภาเสยฺยุํ ตตฺร ตุมฺเหหิ น อานฺนโท น โสมนสฺสํ น เจตสา ขุพฺพิลาวิคตํ
กรณียนฺติ.

อถโข มิลินฺโท ราชา

ในลำดับนั้น สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชาชาวสาคลรัฐ มี
พระราชโองการดำรัสถามอรรถปัญหากะพระนาคเสนต่อไปว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระ
นาคเสนผู้เป็นเจ้าประกอบด้วยญาณปรีชา ภาสิตํปิ เจตํ ภควตา ถ้อยคำอันนี้ สมเด็จพระ
พุทธองค์ผู้ทรงสุนทรราศีสวัสดิภาค หากมีพระพุทธฎีกาตรัสพระสัทธรรมเทศนาว่า ภิกฺขเว
ปเร วณฺณํ ภาเสยฺยุํ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันว่าชนทั้งหลายเหล่าอื่นจะพึงภาษิตกล่าวสรรเสริญ
ซึ่งคุณแห่งเราผู้ตถาคตก็ดี แห่งพระธรรมพระสงฆ์ก็ดี ท่านทั้งหลายอย่าพึงยินดีโสมนัส อย่า
พึงมีจิตกำเริบด้วยอาการคือความสรรเสริญนั้น ใช่แต่เท่านั้น แม้ในพรหมชาลสูตร สมเด็จ
พระผู้ทรงพระภาคก็ได้ตรัสเทศนาสั่งสอนพระภิกษุทั้งหลาย ในกาลเมื่อพระองค์เสด็จไปสู่
ระหว่างแห่งเมืองราชคฤห์กับเมืองนาลันทาต่อวัน ครั้งนั้นก็ทรงสั่งสอนห้ามมิให้ภิกษุทั้งหลาย
ยินดียินร้ายในนินทาและสรรเสริญ และซ้ำสอนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายมีจิตชื่นชม
ยินดี ในถ้อยคำที่ชนทั้งหลายกล่าวสรรเสริญซึ่งเราผู้ตถาคตก็ดี และยินดีโสมนัสในถ้อยคำที่เขา
กล่าวสรรเสริญพระธรรมพระสงฆ์ก็ดี อันตรายจะพึงมีแก่ธรรมวิเศษ คือฌานสมาบัติมรรคผล
ที่ท่านทั้งหลายจะพึงได้โดยแท้ นี่แหละสมเด็จพระศาสดาตรัสเทศนาห้ามปรามพระสงฆ์พุทธ-
บริษัทมิให้ยินดีโสมนัสในความสรรเสริญแล้ว ครั้นภายหลังเสลพราหมณ์ไปเฝ้า พระ
ผู้ทรงพระภาคเจ้ามีพระพุทธฎีกาตรัสสรรเสริญคุณของพระองค์ให้เสลพราหมณ์ฟัง อานนฺทิโต
มีน้ำพระทัยชื่นชมยินดีที่จะสรรเสริญ กำเริบที่จะสรรเสริญเอง และยกพระองค์ว่าเป็นพระ
ยาธรรมราช อนุตฺตโร ว่ายิ่งหาสิ่งที่จะเสมอมิได้ โดยยังพระธรรมจักรให้เป็นไปคือตรัสพระ
ธรรมเทศนาโปรดเวไนยนิกรมนุษย์เทพยดา โลเก อปฺปติวตฺติยํ หาผู้ใดในโลกนี้จะปูนปาน
ดุจพระองค์มิได้ นี่แหละพระพุทธองค์มาสรรเสริญพระองค์เองดังนี้ ถ้าจะเชื่อเอาพระพุทธฎีกา
เดิมที่ตรัสว่าคนทั้งปวงสรรเสริญพระตถาคตและสรรเสริญพระธรรมพระสงฆ์ก็ดี ท่านทั้งปวง
อย่ายินดี อย่าให้จิตกำเริบไปในที่สรรเสริญนั้น ถ้าจะเชื่อคำเดิมนี้ คำภายหลังที่พระองค์ตรัส
สรรเสริญพระองค์ให้เสลพราหมณ์ฟังนั้นก็ผิด ครั้นจะเชื่อเอาว่าพระองค์สรรเสริญพระองค์ว่า
เป็นถึงพระยาธรรมราช ไม่มีใครทั่วทั้งมนุษย์เทพาฟ้าดินที่จะเปรียบเสมอเหมือนหามิได้ พระ
พระพุทธฎีกาตรัสไว้เดิมว่า ภิกฺขเว ดูกรสงฆ์ทั้งปวง คนทั้งหลายจะสรรเสริญตถาคตก็ดี จะ